บทที่ 9 ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

ความหมาย INTERNET 



           อินเตอร์เน็ต  (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า  “International network”  หรือ  “Inter Connection  network”  ซึ่งหมายถึง  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน  เพื่อให้เกิดการสื่อสาร  และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน  โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน  นั่นก็คือ  TCP/IP Protocol  ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย  ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้   การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง  ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ  ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก

- ประวัติความเป็นมา 






เรื่องราวความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตมักจะมีในหนังสือตำราต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตอยู่เสมอ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ถูกเพราะผู้ที่จะรู้จักกับอินเทอร์เน็ตก็ควรทราบถึงการความเป็นมาของมันด้วย เช่นเดียวกันที่ผู้เขียนจะนำมาเล่าให้คุณทราบอย่างคร่าว ๆ ตามเนื้อที่ซึ่งค่อนข้างจำกัดนี้
อินเทอร์เน็ตได้เริ่มต้นขึ้นในปี 1969 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โครงการที่ชื่อ ARPA (Advanced Research Projects Agency) ได้จัดตั้งระบบเน็ตเวอร์กซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ตขึ้น ในเวลานั้นเน็ตเวอร์กนี้มีชื่อเรียกว่า ARP Anet และได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารข้อมูลทางการทหาร, ใช้ในการกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาและใช้ในมหาวิทยาลัย ปัญหาหลักของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในขณะนั้นคือเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกตัวที่อยู่ในระบบเน็ตเวอร์ก ต้องทำงานของระบบร่วมกันทั้งหมด หากตัวใดตัวหนึ่งหยุดทำงานลงไปตัวอื่น ๆ ก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ยกตัวอย่างเช่นมีคอมพิวเตอร์เชื่อมอยู่ในสายสัญญาณ 3 ตัว หากตัวกลางเกิดเสียกลางคันอีก 2 เครื่องหัวท้ายก็ต้องหยุดเช่นกัน ลองคิดดูว่ารัฐบาลของสหรัฐจะทำอย่างไรหากระบบเน็ตเวอร์หยุดทำงานขณะที่อยู่ในช่วงสงครามเย็นขณะนั้นเป็นเรื่องที่เลวร้าย ระบบเน็ตเวอร์กขณะนั้นจึงยังถือว่าใช้งานจริงไม่ได้
ARP Anet จึงกลายเป็นเน็ตเวอร์กที่มีลักษณะเฉพาะตัวกลุ่มแรก เหตุผลแรกก็เพราะ ARP Anet มีลักษณะของการกระจายอำนาจในการทำงานไม่มีคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเพียงตัวเดียวที่คอยสั่งการ หากคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งในระบบหยุดทำงานลงไปเพื่อการใดก็เป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เครื่องอื่น ๆ จะต้องคงความสามารถในการติดต่อสื่อสารต่อไป คงจะพอเดาออกว่าเรื่องนี้มีความสำคัญต่ออเมริกาอย่างไร ARP Anet จึงจำเป็นต้องเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ ตัวเข้าด้วยกันและคอยสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ อย่างอัตโนมัติแม้ว่าคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งตัวใดจะหยุดทำงานลงไปก็ตาม
ARP Anet ได้เริ่มเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสถานที่ 4 แห่งด้วยกันได้แก่ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด, UCLA, UC Santa Barbara และมหาวิทยาลัยยูทาร์ต่อมาในปี 70 ARP Anetจึงถูกเริ่มนำมาใช้ในวงกว้างขึ้นไม่เฉพาะแต่เพียงในการทหารของสหรัฐอีกต่อไป เมื่อมหาวิทยาลัยและกระทรวงกลาโหมได้ทำการวิจัยและยินยอมที่จะเชื่อมระบบเน็ตเวอร์เข้าด้วยกัน หลังจากปี 70 ARP Anet จึงได้กำหนดมาตรฐานโปรโตคอลการสื่อสารขึ้นให้เป็นแบบอย่างเดียวกันทั้งหมดและทำให้การเติบโตของระบบเน็ตเวอร์กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงปี 1983 คอมพิวเตอร์ทุกตัวภายใน ARP Anet ก็ใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด นั่นก็คือมาตรฐาน TCP/IP ที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง
ในปี 1983 การทำงานบนระบบเน็ตเวอร์กจึงเด่นชัดว่าไม่ได้ถูกใช้ในจุดประสงค์ทางการทหารอีกต่อไป และได้แยกออกเป็น 2 เน็ตเวอร์กด้วยกันคือส่วนหนึ่งกลายเป็น MILNET เน็ตเวอร์กที่ใช้ในกระทรวงกลาโหมของสหรัฐสำหรับดำเนินงานทางการทหารแต่เพียงอย่างเดียว อีกส่วนหนึ่งก็คือ ARP Anet ซึ่งถูกใช้ในงานวิจัยและขยายตัวออกไปอีกอย่างรวดเร็ว
ในปี 1987 หน่วยงาน National Science Foundtion ได้สร้างเน็ตเวอร์ก ของตนเองขึ้นในชื่อว่า NSFnet มีโครงสร้างและจุดประสงค์ที่คล้ายคลึงกันจึงเริ่มทำงานร่วมกันและรวมตัวเข้าด้วยกันในที่สุด ปัจจุบัน NSFnet ยังคงเป็นเครือข่ายหลักของการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตในประเทศสหรัฐอเมริกา
กลางปี 80 หน่วยงาน National Sciencd Foundation ได้เริ่มเตรียมกองทุนในการจัดตั้งเน็ตเวอร์กสำหรับวิจัยและศึกษาค้นคว้าทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา และเริ่มเชื่อมโยงการสื่อสารเข้ากับNSFnet ขณะนั้นเองเรื่องประเภทเดียวกันก็เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง การศึกษา, หน่วยงานในภาครัฐและผู้ที่สนใจทั่วไปเริ่มเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์ของตนเข้าสู่เน็ตเวอร์กและเชื่อมเน็ตเวอร์กเหล่านั้นเข้าสู่เน็ตเวอร์กอื่น ๆ
จุดประสงค์หลักของ NSFnet ก็เพื่อรองรับการศึกษาและการค้นคว้าวิจัยไม่ใช่เพื่อมีไว้เพื่อการทำงานในเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้จากการใด ๆ ในเน็ตเวอร์กอย่างไรก็ตามข้อกำหนดในเรื่องที่ควรปฎิบัติและไม่ควรปฎิบัติยังปรากฎไม่ชัดเจนนัก ดังนั้น NSFnet จึงได้กำหนดนโยบายที่ชัดเจนสำหรับจุดประสงค์ในการใช้งานขึ้น ห้ามใช้ระบบเน็ตเวอร์กในการทำงานค้าแม้กระทั่งใช้สื่อสารข้อมูล (ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ) ระหว่างระบบเน็ตเวอร์กใด ๆ ภายใต้ NSFnet
ในปี 1991 กลุ่มของระบบเน็ตเวอร์กที่ทำงานกันในเชิงพาณิชย์ก็ได้จัดตั้งเน็ตเวอร์กCommercial Internet Exchange (CIX) ของตนเองขึ้นและเกิดการใช้งานระบบเน็ตเวอร์กในด้านสกปรกขึ้นหลาย ๆ อย่าง ปัจจุบันผู้ใช้ที่ทำธุรกิจสามารถเชื่อมโยงการสื่อสารไปยังบุคคลอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องตามกฎหมายผ่านทาง CIX มากกว่าที่จะใช้ NSFnetซึ่งหมายความว่าความร่วมมือทางธุรกิจ, การสนับสนุนทางด้านเทคนิคในเรื่องของอีเมล์, การชำระค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าใช้ระบบฐานข้อมูล รูปแบบเหล่านี้ของเน็ตเวอร์ก CIX เป็นการส่งเสริมการเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งสิ้น
อินเทอร์เน็ตเป็นการรวมตัวกันของ NSFnet, ARP Anet, CIX และระบบเน็ตเวอร์กอื่น ๆอีกมากมายทั่วโลกซึ่งกำลังขยายตัวออกไปอีกอย่างไม่หยุดนิ่งพร้อม ๆ กับการเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบบที่พวกเขาต้องการไม่ว่าระบบนั้นจะใช้ทำอะไรก็ตามที

- การทำงานการเชื่อมต่อแบบต่างๆ
การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น ส่วน ส่วนละ บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด(.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
โดเมนเนม (Domain name system :DNS)
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข
โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
.com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
.edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
การขอจดทะเบียนโดเมน
การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน
การขอจดทะเบียนโดเมน มี วิธี ด้วยกัน คือ
1. การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับwww.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net
2. การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับ www.thnic.net
โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย .th ประกอบด้วย
ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
.co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
.go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
.net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
.or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)
1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเทอร์เน็ตได้ ดังรูป
องค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตรายบุคคล
1. โทรศัพท์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
4. โมเด็ม (Modem)
โมเด็ม คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณในคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital) แต่สัญญาณเสียงในระบบโทรศัพท์เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) ดังนั้นเมื่อต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตจึงต้องใช้โมเด็มเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกตามสายโทรศัพท์ และแปลงกลับจากสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัล เมื่อถึงปลายทาง
ความเร็วของโมเด็มมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาที (bit per second : bps) หมายความว่า ในหนึ่งวินาที จะมีข้อมูลถูกส่งออกไป หรือรับเข้ามากี่บิต เช่น โมเด็มที่มีความเร็ว 56 Kpbs จะสามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้ 56 กิโลบิตในหนึ่งวินาที
โมเด็มสามารถแบ่งได้ ประเภท คือ
1. โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External modem)
เป็นโมเด็มที่ติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ภายนอก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะในปัจจุบันการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะผ่าน USB พอร์ต (Universal Serial Bus) ซึ่งเป็นพอร์ตที่นิยมใช้กันมาก ราคาของโมเด็มภายนอกไม่สูงมากนัก แต่จะยังมีราคาสูงกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายใน รูปที่ 6.3 แสดงโมเด็มภายนอก
2. โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal modem)
เป็นโมเด็มที่เป็นการ์ดคอมพิวเตอร์ที่ต้องติดตั้งเข้าไปกับแผงวงจรหลักหรือเมนบอร์ด (main board) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็มประเภทนี้จะมีราคาถูกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก เวลาติดตั้งต้องอาศัยความชำนาญในการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และติดตั้งไปกับแผงวงจรหลัก
3. โมเด็มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note Book Computer) อาจเรียกสั้นๆว่า PCMCIA modem
2. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection)



การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่ายLAN นี้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)
1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

2. การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเทอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
2. GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด153 Kbps ซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง 56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี
3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm) ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS
โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

IP Address

รูปแบบของ IP address นั้นเป็นตัวเลขล้วน( มีขนาด 32 บิต) เวลาเขียน IP address แต่ละตัวจะเขียนแทนด้วยเลขฐานสิบ โดยแบ่งเลขฐานสิบที่เขียนออกมาเป็นสี่ส่วน แต่ละส่วนคั่นด้วยจุด ดังตัวอย่าง
  • 161.200.48.9
แต่ละส่วนจะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง ถึง 255 เกินกว่านั้นไม่ได้ แอดเดรสในตัวอย่างนี้เป็นแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคณะอักษรศาสตร์เครื่องหนึ่ง ( ซึ่งเครื่องนี้ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์) แอดเดรสนี้ท่านไม่สามารถกำหนดได้ตามใจชอบ เพราะถ้ากำหนดได้ตามใจชอบจะทำให้มีแอดเดรสซ้ำกัน (คือ อาจมีคอมพิวเตอร์สองเครื่องมีหมายเลขเดียวกัน ทำให้แยกไม่ออกว่าเป็นเครื่องไหน)
หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNic) ขององค์กร Network Solution Incorpaoration (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกาเป็นผู้กำหนดหรือให้IP address เมื่อหน่วยงานใดได้นำคอมพิวเตอร์หรือเน็ตเวิร์กต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตแล้วต้องทำการขอ IP address แต่ไม่จำเป็นต้องขอโดยตรงกับ InterNic ก็ได้ มีหน่วยงานที่รับ IP address จาก InterNic มา แล้วมาทำหน้าให้ IP address เช่น หน่วยงานประเภท ISP ให้ IP address แก่ผู้ที่เป็นสมาชิก
ยกตัวอย่างในกรณีของจุฬาฯ ได้รับแอดเดรสจาก InterNic มาจำนวนหนึ่งประมาณหกหมื่นกว่าหมายเลข แอดเดรสของจุฬามีค่าระหว่าง 161.200.0.0 ถึง161.200.255.255 ChulaNet ซึ่งเป็นผู้ดูแลเน็ตเวิร์กของจุฬา ฯเป็นผู้คอยกำหนดแอดเดรสให้แก่คอมพิวเตอร์ในเน็ตเวิร์กของจุฬา ฯ กล่าวคือถ้าอยู่ในจุฬาฯ ให้ขอIP address จาก ChulaNet
การอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ตามต้องใช้แอดเดรสในการอ้างอิง ดังนั้นท่านต้องทราบแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อก่อน ท่านจึงจะสามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์นั้นได้ เงื่อนไขนี้ทำให้เกิดปัญหาในการใช้อินเตอร์เน็ต เพราะว่าแอดเดรสที่ว่านี้เป็นตัวเลขล้วนทำให้ยากต่อการจดจำและใช้งาน และแอดเดรสตัวเลขยังไม่สื่อความหมายอีกด้วย แต่ถ้าใช้แอดเดรสที่เป็นชื่อในการอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์จะสดวกกว่า และง่ายต่อการจดจำ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวนี้จึงได้มีการพัฒนา Domain name system ขึ้นมา
Domain Name System เป็นกลไกที่ทำให้สามารถใช้แอดเดรสที่เป็นชื่อในการอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์หรือติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องใช้แอดเดรสที่เป็นตัวเลข
ยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งมีแอดเดรสที่เป็นตัวเลขคือ 161.200.48.9 เวลาติดต่อกับคอมพิวเตอร์นี้ท่านต้องระบุด้วยแอดเดรสตัวเลขเสมอ แต่เมื่อมีการใช้ Domain Name System ก็จะมีการกำหนดแอดเดรสที่เป็นชื่อให้แก่คอมพิวเตอร์ ในที่นี้ก็กำหนดเป็นชื่อ www.arts.chula.ac.th ต่อไปเมื่อท่านต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ท่านก็ใช้ชื่อ www.arts.chula.ac.th ในการติดต่อได้ หรือจะแอดเดรสที่เป็นตัวเลขคือ 161.200.48.9 ในการติดต่อก็ได้ คือได้ทั้งสองอย่าง
โครงสร้างชื่อของ Domain Name System เป็นระบบแบบลำดับชั้น (hierachical structure) กล่าวคือระบบนี้ทำการแบ่งคอมพิวเตอร์ออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มเรียกว่าโดเมน(Domain) ในแต่ละโดเมนก็แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้หรือที่เรียกว่า sub domain และในแต่ละกลุ่มย่อยก็สามารถแบ่งต่อออกไปเป็นกลุ่มย่อยได้อีกจนกว่าจะพอใจ
ตัวอย่างชื่อโดเมนในระดับบนสุด
  • com หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานประเภทธุรกิจหรือหน่วยงานเอกชน
  • gov หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานภาครัฐบาล
  • edu หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานการศึกษา
  • org หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
  • net หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานที่เป็น network operator หรือprovider ต่าง ๆ
ถ้าชื่อโดเมนในระดับบนสุดยาวแค่สองหลักหมายถึงประเทศ เช่น
  • th หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย
  • us หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ตัวอย่างชื่อโดเมน เช่น คอมพิวเตอร์ของทีวีช่อง ที่ให้บริการด้าน web มีชื่อว่าwww.tv5.co.th ซึ่งมีความหมายดังนี้
  • th หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในโดเมนประเทศไทย
  • co หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในซับโดเมนธุรกิจ (แต่ต้องอยู่ในประเทศไทย)
  • www.tv5 หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้ชื่อ www.tv5
ตัวอย่างชื่อโดเมน เช่น คอมพิวเตอร์ของทีวีช่อง ที่ให้บริการด้าน web มีชื่อว่าwww.ch7.com ซึ่งมีความหมายดังนี้
  • com หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในโดเมนธุรกิจ
  • www.ch7 หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้ชื่อ www.ch7


- Web browser

เว็บเบราว์เซอร์ (web browserเบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประโยชน์ของ Web Browser
สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน 
web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page

รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (
web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
·                       Internet Explorer
·                       Mozilla Firefox
·                       Google Chrome
·                       Safari


อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตSritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ.2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์“ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย(ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
ปี พ.ศ.  2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ
ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป

- บริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ต

                        บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีแหล่งที่ให้บริการข้อมูล  ข่าวสาร  บทความ  รายงาน  ผลงานวิจัยและความบันเทิงด้านต่างๆ รูปแบบการให้บริการบนอินเตอร์เน็ตมีดังนี้
                        1.  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  (Electronic Mail : E-Mail)  เป็นการรับ-ส่งจดหมายถึงกัน  ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานให้เองโดยอัตโนมัติ  ทำให้เกิดความสะดวก  รวดเร็ว  สามารถติดต่อกันได้ทั่วโลก  ลักษณะการส่งเอกสารข้อความมีลักษณะเหมือนการส่งจดหมายทั่วไป  โดยผู้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีที่อยู่ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  (E-Mail address)  เช่น mjeeb@oho.ipst.ac.thmjeeb@oho.ipst.ac.th,webmaster@thaigoodview.comwebmaster@thaigoodview.com  ในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ผู้ใช้สามารถส่งแฟ้มข้อมูลแนบไปกับจดหมายได้ด้วย
                        2.  การถ่ายโอนข้อมูล  (File Transfer Protocol : FTP)  เป็นบริการถ่ายโอนข้อมูล  ข่าวสาร  บทความรวมถึงแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งสู่อีกเครื่องหนึ่ง  ในกรณีที่โอนย้ายข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นลงมาในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเรียกว่า  ดาวน์โหลด  (download)  ส่วนการนำข้อมูลจากเครื่องของเราไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น  เรียกว่า  อัพโหลด  (upload)
                        3.  การเรียกใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น  (telnet)  ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในที่ห่างไกล  โดยไม่ต้องเดินทางไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ
                        4.  โกเฟอร์  (gopher)  บริการค้นหาไฟล์และฐานข้อมูล  เป็นบริการที่คล้ายกับ  FTP  แต่การจัดเก็บสาระบนรายการแฟ้มข้อมูล  และไอคอนของโกเฟอร์จะมีความเป็นระเบียบและแสดงรายละเอียดที่ดีกว่า  ซึ่งคล้ายกับการจัดตู้บัตรรายการในห้องสมุดที่สามารถค้นหาข้อมูล  โดยการระบุชื่อผู้แต่ง  ชื่อเรื่อง  ชื่อที่เกี่ยวข้อง
                        5.   ข่าวสาร  (Usenet)  เป็นการจัดเก็บข่าวสารที่ส่งไปไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลาง  โดยที่ทุกคนสามารถเข้าไปอ่านข่าวสาร  มีการจัดกลุ่มและแลกเปลี่ยนทัศนะและแสดงความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
                        6.  เวิลด์ไวด์เว็บ  (World Wide Web : WWW)  เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลข่าวสารเข้าหากันและครอบคลุมทั่วโลก  ลักษณะของข้อมูลที่สืบค้นได้จะเป็นเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ที่สร้างด้วยภาษา  HTML  (Hypertext Markup Language)  ซึ่งประกอบด้วยข้อความ  ภาพ  เสียง  ภาพเคลื่อนไหว  บริการนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายในปัจจุบัน  การเข้าถึงข้อมูลแต่ละแห่งเปรียบเสมือนการเยี่ยมบ้านของแต่ละคน  เราจึงมักได้ยินคำว่า  โฮมเพจ (Homepage) หรือบ้านของแหล่งข้อมูลแต่ละแห่งและสามารถเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บเพจ (Webpage) อื่นๆ ได้อีก
                        7.  การสนทนา  (Chat)  การสนทนา  แลกเปลี่ยนข้อมูล  ความคิดเห็น  ซึ่งสนทนาผ่านการพิมพ์ข้อความ  รับ-ส่ง  แฟ้มข้อมูล  สนทนาด้วยเสียง  และติดตั้งกล้องเพื่อให้เห็นภาพคู่สนทนาด้วย

ระบบชื่อโดเมน
(Domain Name System)
ระบบชื่อโดเมน เป็นระบบการแทนชื่อในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ผู้ใช้สามารถจำได้ง่าย โดยระบบชื่อโดเมนจะประกอบด้วยชื่อหรือชุดของตัวอักษรเป็นกลุ่มๆ โดยใช้เครื่องหมายจุดเป็นตัวแบ่งกลุ่ม เช่นcs.ait.ac.th www.intel.com ftp.ai.mit.edu gother.tc.umn.eduโครงสร้างของระบบชื่อโดเมนจะมีลักษณะเป็นลำดับชั้น โดยแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ เรียกว่า โดเมนย่อย
(Sub-domain) โดเมนย่อยที่อยู่ทางซ้ายมือจะถือเป็นเป็นส่วนย่อยของโดเมนที่อยู่ทางขวา มือตามลำดับ โดยโดเมนที่อยู่ทางขวามือสุด มีชื่อเรียกว่า "โดเมนระดับบนสุด (Top Level Domain)" ซึ่งจะกำหนดให้เป็นชื่อย่อของประเทศหรือประเภทขององค์กร แล้วมีลำดับลดลงมาจนถึงโดเมนซ้ายสุดเป็นชื่อเครื่องที่ให้บริการ
โดเมนระดับบนสุดในยุคเริ่มต้นอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีใช้เพียงในประเทศสหรัฐอเมริกาและ แคนาดามี
กลุ่ม ได้แก่
1. com (Commercial Organizations) คือกลุ่มธุรกิจการค้า
2. edu (Educational Organizations) คือสถาบันการศึกษา
3. gov (Government Organizations) คือหน่วยงานรัฐบาล
4. mil (Military Organizations) คือหน่วยงานทางทหาร
5. net (Networking Organizations) คือหน่วยงานที่เกี่ยวกับเครือข่าย
6. org (Non-commercial Organizations) คือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
ต่อมาหลายๆ ประเทศได้ทำการเชื่อมเครือข่ายเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงมีการใช้โดเมนระดับบนสุดแทนด้วยอักษรย่อของประเทศนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น
สำหรับโดเมนระดับบนสุดที่มีการระบุประเทศไว้นั้น จะมีโดเมนย่อยซึ่งสามารถแบ่งประเภทหน่วยงานย่อยลงไปอีกยกตัวอย่างเช่นco.it แทน บริษัทในประเทศอิตาลีac.au แทน สถาบันการศึกษาในออสเตรเลีย
or.th แทน องค์กรไม่หวังผลกำไรในประเทศไทย
go.jp แทน หน่วยงานรัฐบาลในประเทศญี่ปุ่น
การเรียกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยระบบชื่อโดเมนนั้นมีประโยชน์ในแง่ของการจดจำง่ายสำหรับผู้ใช้งานโดยทั่วๆ ไปแต่สำหรับการทำงานในระดับคอมพิวเตอร์ด้วยกันแล้วก็ยังอาศัยการอ้างอิงตามระ-บบ หมายเลขไอพีอยู่เช่นเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น